วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก




จุดประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่าน
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำข้อคิดที่ได้จากเรื่องไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละครได้
บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก
ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร
จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อใช้เล่นละครใน และใช้เป็นบทปลุกใจประชาชนให้กล้าหาญ สอนศีลธรรมแก่ประชาชน
        ที่มาของเรื่อง บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ฉบับระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
การดำเนินเนื้อเรื่องเป็นกลอนบทละคร มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ วรรคแรก มักขึ้นต้น ด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป เป็นต้น
เมื่อนั้น ใช้กับตัวเอกของเรื่องหรือตัวละครกษัตริย์
บัดนั้น ใช้กับตัวบทละครสามัญ หรือไม่สำคัญ
มาจะกล่าวบทไป ใช้เมื่อขึ้นตอนใหม่ หรือความใหม่
วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดแห่งกลอนบทละคร
***รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย ชื่อว่า รามายณะ***
ข้อคิดที่ได้รับ
๑. อำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้ายตามมาได้
๒. เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก
๓. คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น
๔. ความหลงอำนาจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้อยู่ร่วมในสังคมต้องได้รับความเดือดร้อน
๕. วรรณคดีเป็นบทวิจารณ์ชีวิตที่ทำให้คนเราเข้าใจชีวิตของเพื่อนมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง
เนื้อเรื่องย่อ
         นนทกนั่งประจำอยู่ที่บันไดของเขาไกลลาศ โดยมีหน้าที่ล้างเท้าให้แก่เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร ได้ยื่นเท้าให้ล้างแล้วมักแหย่เย้าหยอกล้อ นนทกอยู่เป็นประจำ ด้วยการลูบหัวบ้าง ถอนผมบ้างจนกระทั่งหัวโล้นทั้งศรีษะ นนทกแค้นใจมากแต่ว่าตนเองไม่มีกำลังจะสู้ได้ จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวร แล้วกราบทูลว่า ตนได้ทำงานรับใช้พระองค์มานานถึง 10 ล้านปี ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนใดๆเลย จึงทูลขอให้นิ้วเพชร มีฤทธฺ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นตาย พระอิศวรเห็นว่านนทกปฏิบัติหน้าที่รับใช้พระองค์มานานจึงประทานพรให้ตามที่ขอ ไม่นานนัก นนทกก็มีใจกำเริบ เพียงแต่ถูกเทวดามาลูบหัวเล่นเช่นเคย นนทกก็ชี้ให้ตายเป็นจำนวนมาก พระอิศวรทรงทราบก็ทรงกริ้ว โปรดให้พระนารายณ์ไปปราบ พระนารายณ์ แปลงเป็นนางฟ้ามายั่วยวน นนทกนึกรักจึงเกี่ยวนาง นางแปลงจึงชักชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก นนทกรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้วเพชรชี้ขาตนเองนนทกก็ลมลงจากนั้นนนทกเห็นนางแปลงร่างเป็นพระนารายณ์ จึงตอบว่า พระนารายณ์เอาเปรียบตนเพราะว่าพระนารายณ์มีอำนาจ มีถึง ๔ กร แต่ตนมีแค่ ๒ มือ และเหตุใดจึงมาทำอุบายหลอกลวงตนอีก พระนารายณ์จึงท้าให้นนทก ไปเกิดใหม่ให้มี ๒๐ มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง ๒ มือ ลงไปสู้กัน หลังจากที่พระนารายพูดจบก็ใช้พระแสงตรีตัดศรีษะนนทกแล้วนนทกก็สิ้นใจตายชาติต่อมานนทกจึงได้ไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม
คำศัพท์
กระเษียรวารี เกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนม
ไกรลาส ชื่อภูเขาที่เป็นที่ประทับของพระอิศวร
คนธรรพ์ ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง มีความชำนาญในวิชาคนตรีและขับร้อง
จุไร ผมที่เกล้าเป็นจุกและประดับอย่างสวยงาม
ตรัยตรึงศา ตรัยตรึงศ์หรือดาวดึงส์ แปลว่า ๓๓
ตรี คือตรีศูล เป็นอาวุธสามงาม ปกติเป็นเทพอาวุธของพระอิศวร
เทพอัปสร นางฟ้า
ธาตรี แผ่นดิน,โลก
นนทก,นนทุก ในรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่๑ ตัวละครตัวนี้ชื่อว่านนทก
นาคี นาค คืองูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยาย
บทบงสุ์,บทศรี ใช้หมายถึงพระบาทของเทวดาหรือกษัตริย์ เป็นต้น
บังเหตุ ประมาท,ทำให้เป็นเหตุ
พระหริวงศ์ พระนารายณ์
พระองค์ทรงสังข์คทาธร พระนารายณ์ ตามคติอินเดียว่ามีสี่กรถือสังข์ จักรคทาและธรณี
ไฟกาล ไฟกัลป์ หรือ ไฟบรรลัยกัลป์
ภักษ์ผล ผลสำเร็จ
ลักษมี ชายาของพระนารายณ์
วิทยา ในที่นี้คือ วิทยาธร ชาวสวรรค์พวกหนึ่งมีวิชาอาคม
สำเร็จมโนรถ ได้ตามต้องงการ
สิ้นท่า ครบทุกท่ารำ
สุบรรณ ครุฑ คือ พญานกในเทพนิยาย
สุรัสวดี ชายาของพระพรหม
โสมนัสา คือคำวา โสมนัยน์ หมายความว่า ยินดี
หัสนัยน์ ผู้มีพันตา หมายถึง พระอินทรเป็นเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
อสุนี อสุนีบาต หมายถึง ฟ้าผ่า
อัฒจันทร์ ในที่นี้หมายถึงขั้นบันได
ที่มา:https://sway.com/1q7GXbxZfdZCfWM6

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การสลายสารอาหารระดับเซลล์

การสลายสารอาหารระดับเซลล์

    สารอาหารที่ลำเลียงเข้าสู่เซลล์และสามารถให้พลังงานแก่เซลล์ได้ เช่น มอโนแซ็กคาไรด์ กรดอะมิโน กลีเซอรอล และกรดไขมัน แต่เซลล์ยังไม่สามารถนำพลังงานจากสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้จะต้องมีกระบวนการสลายสารอาหารภายในเซลล์เพื่อเปลี่ยนพลังงานของพันธะเคมี


ของสารอาหารให้มาอยู่ในรูปสารประกอบพลังงานสูงที่เซลล์พร้อมที่จะนำพลังงานไปใช้ได้เช่น ATP
เรียกกระบวนการสลายโมเลกุลของสารอาหารในเซลล์เพื่อให้ได้พลังงานนี้ว่า
การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ( Cellular respiration )
ATP เป็นสารที่มีพลังงานสูงทำหน้าที่เก็บพลังงานที่ได้จากกระบวนการการสลายสารอาหารของเซลล์
ประกอบด้วยสารอินทรีย์ 2 ชนิดต่อกัน คือ เบสอะดีนีนกับน้ำตาลไรโบส ซึ่งเรียกว่าอะดีโนซีน
แล้วจึงต่อกับหมู่ฟอสเฟต 3 หมู่ หมูฟอสเฟตแรกที่จับกับน้ำตาลไรโบสมีพลังงานพันธะต่ำ
ส่วนพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างหมู่ฟอสเฟตแรกกับหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 2 กับหมู่ที่ 3 มีพลังงานพันธะสูง
เมื่อสลายสลายแล้วจะได้พลังงาน 7.3 กิโลแคลอรี/โมล
ขณะที่สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ เซลล์จะมีการสลาย ATP โดย ATP
จะเปลี่ยนเป็น อะดีโนซีนไดฟอสเฟต ( adenosine diphosphate : ADP ) และหมู่ฟอสเฟต
หรือเปลี่ยนเป็นอะดีโนซีนมอโนฟอสเฟต ( adenosine monophosphate : AMP ) และหมู่ฟอสเฟต
เพื่อได้พลังงานสำหรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของร่างกายตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องมีการสร้าง ATP ใหม่ขึ้นมาทดแทน
กระบวนการสร้าง ATP จาก ADPและหมู่ฟอสเฟตนี้เรียกว่ากระบวนการฟอสโฟรีเลชัน ( Phosphorylation )
การสลายสารอาหารระดับเซลล์มีทั้งแบบใช้ ออกซิเจน และ ไม่ใช้ ออกซิเจน มีดังนี้
1.การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน
กระบวนการสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจนเป็นการสลายสารอาหารโดยเบื้องต้น

โดยการสลายจากกลูโคสเป็นพลังงาน ATP ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

1. ไกลโคลิซิส (Glycolysis)

2. วัฏจักครเครบส์ (Krebs cycle)

3. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน (Electron transport chain)


2.การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน
ในกรณีที่ไม่มีออกซิเจน ATP ที่ได้จะมาจากกระบวนการ substrate-level phosphorylation

ขณะที่กลูโคสเปลี่ยนเป็นไพรูเวต จากนั้นผลผลิตสุดท้ายของไกลโคลิซีส คือ ไพรูเวต

ทำหน้าที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอนเพื่อจะออกซิไดซ์ NADH กลับไปเป็น NAD +

ซึ่งสามารถถูกนำกลับไปใช้ใหม่ใน วิถีไกลโคลิซีส ผลผลิตสุดท้าย (ที่ถือว่าเป็นของเสีย)

จากกระบวนการหมักดังรูปอาจจะเป็นแอลกอฮอล์ (ethanol) หรือแลกเตต (lactate )

ซึ่งเป็น lactic acid ในรูป ที่แตกตัว (ionized) แล้ว


ที่มา : http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G3/sumalee2/page.htm

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โครงการห้วยองคต



โครงการห้วยองคต จังหวัดกาญจนบุรี





      

         โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกิดขึ้นได้ก็ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ประกอบกับการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของ “การบริหารและการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่” โดยมีมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งได้ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยได้เริ่มการจัดระเบียบชุมชน ตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ เพื่อให้ราษฎรที่บุกรุก ทำลายป่า ได้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่เหมาะสมมีการจัดสรรพื้นที่อาศัยให้กับราษฎรและจัดสรรที่ดินทำกินแก่ราษฎรรวม ๔๐๐ ครอบครัว

    นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพทั้งทางด้านปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนการส่งเสริมหัตถอุตสาหกรรมในครัวเรือน ซึ่งในการนี้มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงน้อมเกล้าฯ รับแนวพระราชดำริมาดำเนินการ โดยเข้าเข้าไปสนับสนุนการดำเนินการของมูลนิธิชัยพัฒนาและไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ยังผลให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มรายได้ ๑๐ เท่า ควบคู่ไปกับการพัฒนาและฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับคืนมาสู่ความสมบูรณ์อีกครั้ง โดยให้ราษฎรได้อยู่อาศัยและทำมาหากินร่วมกับการคงอยู่ของธรรมชาติอย่างเกื้อหนุน

ที่มา:http://www.xn--12co9drbac8a9as5aiidh8isei1npa.com

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อะธีนา

อะธีนา



                 
          ในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก อะธีนา (อังกฤษ: Athena, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /əˈθinə/) หรือ อะธีนี (อังกฤษ: Athene) หรือ แพลลัสอธีนา/อะธีนี (อังกฤษ: Pallas Athena/Athene, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈpæləs/) เป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งปัญญา ความกล้า แรงบันดาลใจ อารยธรรม กฎหมายและความยุติธรรม การสงครามโดยชอบ คณิตศาสตร์ ความแข็งแกร่ง ยุทธศาสตร์ ศิลปะ งานฝีมือและทักษะ ภาคโรมัน คือ มิเนอร์วามีการพรรณนาอะธีนาว่าทรงเป็นพระสหายร่วมทางผู้เฉลียวฉลาดของวีรบุรุษและเทพเจ้าอุปถัมภ์การผจญภัยของวีรบุรุษ พระนางทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์ผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์ ชาวเอเธนส์ตั้งวิหารพาร์เธนอนบนอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ (อะธีนาพาร์ธีนอส) เพื่อถวายเกียรติแด่พระนางปรัมปราวิทยากำเนิดแม้อะธีนาปรากฏที่คนอสซัสในอักษรไลเนียร์บีในพระเจ้าโอลิมปัสคลาสสิกก่อนหน้าซูส ภายหลังมีการสร้างใหม่ให้พระนางทรงเป็นพระธิดาองค์โปรดของซูส ซึ่งประสูติพร้อมอาวุธเต็มยศจากพระนลาฏ (หน้าผาก) นิยายกำเนิดของพระนางมีหลายฉบับ ฉบับหนึ่งที่มีการอ้างมากที่สุดเล่าวว่า ซูสหลับนอนกับมีทิส เทพีแห่งความคิดและภูมิปัญญาช่าง แต่พระองค์ทรงกลัวผลลัพธ์ในทันที มีการทำนายก่อนหน้านั้นว่ามีทิสจะประสูติบุตรที่ทรงพลังยิ่งกว่าบิดา แม้แต่ซูสเอง เพื่อป้องกันผลลัพธ์อันตรายนี้ หลังทรงโกหกมีทิสแล้ว ซูส "ฆ่าพระนางในพระอุทรของพระองค์เอง" พระองค์ "ทรงกลืนพระนางไปในทันที" ทว่า พระองค์ช้าเกินไป เพราะมีทิสตั้งครรภ์แล้วในที่สุด ซูสทรงปวดพระเศียรอย่างหนัก โพรมีเทียส ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส แอรีสหรือพาเลมอน (แล้วแต่แหล่งข้อมูลที่พิจารณา) ผ่าเศียรของซูสด้วยขวานไมนวนสองหัว แล้วอะธีนาก็ทรงโจนออกจากเศียรของซูส โตเต็มที่และมีอาวุธนายหญิงแห่งเอเธนส์ตามตำนานกรีกเล่าว่า ที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) นั้น มาจากการที่ชาวกรีกจะตั้งชื่อเมืองแต่ไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร โพไซดอน เทพแห่งมหาสมุทร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอะธีนา ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา (บ้างก็ว่าสร้างน้ำพุขึ้น) ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก แต่เทพีอะธีนาได้เนรมิตต้นมะกอกขึ้นมา ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์ ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า อะธีนา เป็นเทพที่ชาวกรีกให้ความนับถือมากที่สุดก็ว่าได้ ในสมัยโบราณมีการสร้างมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระนาง คือ วิหารพาเธนอน ซึ่งตั้งอยู่ที่เนินอะโครโปลิส ที่กรุงเอเธนส์ในปัจจุบัน ในการท่องเที่ยวของกรีซ จะพบรูปปั้นขนาดเล็กของอะธีนาขายเป็นที่ระลึกอยู่ทั่วไป


ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/อาธีนา

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Sudoku

SudokuSudoku คืออะไร ?


        
              sudoku (ญี่ปุ่น: 数独 sūdoku ) เกมปริศนาตัวเลข ที่ผู้เล่นต้องเลือกใส่ หมายเลขตั้งแต่ เลข 1 ถึงเลข 9 โดยมีเงื่อนไขว่าในแต่แถวและแต่ละหลักตัวเลขต้องไม่ซ้ำกัน ตารางซูโดะกุจะมี 9×9 ช่อง ซึ่งประกอบจากตารางย่อย 9 ตาราง ในลักษณะ 3×3 แบ่งแยกกันโดยเส้นหนา และในแต่ละตารางย่อยจะต้องมีตัวเลข 1 ถึง 9 เช่นเดียวกัน เมื่อเริ่มเกมจะมีตัวเลขบางส่วนให้มาเป็นคำใบ้ และผู้เล่นจะต้องใส่ทุกช่องที่เหลือให้ครบ โดยตามเงื่อนไขว่าแต่ละตัวเลขในแต่ละแถวและหลักจะใช้ได้ครั้งเดียว รวมถึงในแต่ละขอบเขตตารางย่อย การเล่นเกมนี้จำเป็นต้องใช้ความสามารถในด้าน ตรรกะ และความอดทนรวมถึงสมาธิ เกมนี้เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2522 ในชื่อ นัมเบอร์เพลส (Number Place) แต่เป็นที่นิยมและโด่งดังในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ ซูโดะกุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และเป็นที่นิยมทั่วโลกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548ในปัจจุบันมีการเล่นตามคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ เช่นในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โดยมีระดับ ง่าย ปานกลาง ยาก และยากมาก หรือคอลัมน์ท้าทายท้ายเล่มของวารสาร Reader's Digest ฉบับภาษาไทย หนังสือรวมเล่ม โทรศัพท์มือถือ เกมกด คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเล่นบนอินเทอร์เน็ตตามเว็บไซต์ต่างๆ
ที่มาของชื่อ ชื่อ ซูโดะกุ ในภาษาญี่ปุ่น เป็นคำย่อจากคำว่า ซูจิวะโดะกุชินนิคางิรุ (数字は独身に限る) มีความหมายว่า ตัวเลขต้องมีเพียงเลขเดียว ชื่อของซูโดะกุ มีการเรียกชื่อแตกต่างกันในแต่ละภาษา ตั้งแต่ ซูโดะกุ ซูโดกุ ซูโดกู หรือ ซูโดคู
นิตยสารในเครือ ปริศนา ของบริษัท สำนักพิมพ์อาทร จำกัด เคยเรียกชื่อเกมนี้ว่า ปริศนา 1 ถึง 9 เนื่องจากต้องเติมตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 9 ลงในตาราง และอาจเรียกว่า ปริศนา 1 ถึง 7, 1 ถึง 12, 1 ถึง 16, 1 ถึง 25 ฯลฯ ตามจำนวนตัวเลขที่จะต้องเติมในรูปแบบต่างๆซูโดะกุในรูปแบบต่างๆจากการเล่นพื้นฐานต่าง ๆ ของซูโดะกุแบบปกติแล้ว นอกจากนี้ ยังมีลูกเล่นต่าง ๆ ของซูโดะกุทำให้เพิ่มลูกเล่นมากขึ้น และมีรูปแบบต่าง ๆ คือขอบเขตการเติมตัวเลข ตารางซูโดะกุแบบมาตรฐาน จะเป็นแบบ 9x9 นอกจากนี้ ยังมีตารางขนาดที่ต่างไปคือ แบบ 4x4 6x6 12x12 16x16 และ 25x25 ในแบบ 4x4 และ 6x6 นั้น เป็นตารางซูโดะกุที่ง่ายและเพื่อทำความเข้าใจในการเล่นพื้นฐานสำหรับเด็กและผู้ที่เริ่มเล่น ตาราง 4x4 จะต้องเติมตัวเลข 1-4 โดยไม่ซ้ำกัน ถ้าเป็น 6x6 จะเติมตัวเลข 1-6 โดยไม่ซ้ำกัน สำหรับตารางที่ใหญ่กว่า 9x9 ก็จะต้องเติมจำนวนตัวเลขที่มากขึ้น โดยไม่ซ้ำกันทั้งแนวตั้ง แนวนอน และตารางย่อย และขนาดมีสูงสุดถึง 49x49ซูโดะกุเอกซ์ (Sudoku X) เป็นตารางซูโดะกุที่คล้ายกับกติกาแบบปกติทุกอย่างแล้ว นอกจากจะเติมเลขให้แนวตั้ง แนวนอน และตารางย่อยไม่ให้ซ้ำกันแล้ว ยังต้องเติมเลขแนวทแยงที่ตัดผ่านตาราง (เป็นรูปตัว X) โดยไม่ให้ซ้ำกันอีกด้วยซูโดะกุคู่คี่ (Evnt/Odd Sudoku) เป็นตารางซูโดะกุที่มีการแรเงาเป็นช่องโดยแยกชัดว่า ช่องที่ถูกแรเงานั้นต้องเติมเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ แล้วแต่ตามกติกาที่กำหนดซูโดะกุบวกเลข หรือ คิลเลอร์ซูโดะกุหรือ ซูโดะกุแบบผลรวม (Killer Sudoku) เป็นซูโดะกุที่รวมกับคักกุโระเข้าด้วยกัน ในตาราง จะมีช่องตามสีหรือเส้นประและมีตัวเลขจำนวนหนึ่งอยู่บนมุมซ้ายของเส้นประ ซึ่งแสดงว่า เลขที่เติมในรอบเส้นประ (2 ช่องขึ้นไป) จะต้องรวมกันให้ได้เลขที่อยู่ด้านบน เช่น เส้นประที่ล้อมรอบสองช่อง โดยมีเลข 3 กำกับ หมายความว่า สองช่องที่มีเส้นประล้อมรอบอยู่จะต้องเติมเลข 1 กับ 2 ซึ่งเท่ากับ 3 ซูโดะกุรูปแบบนี้ก็คล้าย ๆ กับซูโดะกุแบบปกติ แต่มีการคำนวณมาเกี่ยวข้องซูโดะกุมากกว่า/น้อยกว่า (Comparison Sudoku) มีลักษณะที่แสดงเครื่องหมายมากกว่าหรือน้อยกว่าตรงเส้นตาราง โดยที่ต้องเติมตัวเลขให้มากกว่าหรือน้อยกว่าช่องถัดไปจิ๊กซอว์ซูโดะกุ (Jigzaw Sudoku) กรอบตารางที่ใส่เลข 1-9 จะเป็นรูปที่บิดเบือนคล้ายกับชินส่วนของจิ๊กซอว์ หมายความว่า กรอบตารางที่บิดเบือนจะต้องเติมเลข 1-9 โดยไม่ซ้ำกันไฮเปอร์ซูโดะกุ (Hypersudoku) ภายในตารางจะมีช่องแรเงา 9x9 ข้ามเส้น โดยมีกติกาว่า ตารางแรเงา 9x9 ก็ต้องเติมเลข 1-9 โดยไม่ซ้ำกันเช่นกันซูโดะกุแบบตารางซ้อน เป็นตาราง 9x9 2-5 ตารางทับซ้อนกัน โดยส่วนที่ทับซ้อนจะเป็นคำตอบเดียวกันกับตารางที่ทับซ้อนกันอยู่ ซูโดะกุแบบตารางซ้อนนี้เป็นที่รู้จักในชื่อของ "ซามูไร ซูโดะกุ" (Samurai Sudoku)

ที่มา:http://sudoku.in.th/dojo-rules-sudoku-th.html







วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

มงคล 38

มงคล 38


มงคล 38 ประการหมายถึงอะไร แล้วมงคล 38 ฉบับย่อมีอะไรบ้าง เรามีบทความมาฝาก
"หลักธรรมคำสอน" ถือได้ว่าเป็นเครื่องที่ยึดเหนี่ยวและเป็นที่พึ่งทางใจให้กับ "พุทธศาสนิกชน" ทุกคน ทั้งนี้เพื่อเป็นแบบแผนและแนวทางในการดำรงชีวิตอย่างถูกต้องและมีความสุข... และถ้าหากพูดถึงเรื่องหลักธรรมคำสอนแล้ว เชื่อเลยค่ะว่า หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า "มงคลชีวิต 38 ประการ" ซึ่งเป็น "คุณธรรม" ที่หากยึดปฏิบัติแล้ว จะส่งให้ชีวิตพบเจอแต่ความสุข ความเจริญ

โครงการแก้มลิง


โครงการแก้มลิง


ความเป็นมาของโครงการแก้มลิง
            โครงการแก้มลิง เป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำริ "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถลดปัญหาน้ำท่วมได้
ทั้งนี้ นอกจากโครงการแก้มลิงจะมีขึ้นเพื่อช่วยระบายน้ำ ลดความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง และในที่สุดน้ำเหล่านี้จะผลักดันน้ำเสียให้ระบายออกไปได้
แนวคิดของโครงการแก้มลิง
แนวคิดของโครงการแก้มลิง เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมากๆ จึงมีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง" ด้วยแนวพระราชดำรินี้ จึงเกิดเป็น "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำ ไว้รอการระบายเพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง ลักษณะของโครงการแก้มลิงจะดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน เพื่อให้น้ำไหลลงคลองพักน้ำที่ชายทะเล จากนั้นเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงจนต่ำกว่าน้ำในคลอง น้ำในคลองจะไหลลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ ต่อจากนั้นจะเริ่มสูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิง เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเอง จึงทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง จนในที่สุดเมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับในคลอง จึงปิดประตูระบายน้ำ โดยให้น้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)
ประเภทของโครงการแก้มลิง
โครงการแก้มลิงมี ๓ ขนาด คือ ๑. แก้มลิงขนาดใหญ่ ( Retarding Basin) คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้นๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำเหล่านี้ได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะมีวัตถุประสงค์อื่นประกอบด้วย เช่น เพื่อการชลประทาน เพื่อการประมง เป็นต้น ๒. แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ มักเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น ๓. แก้มลิงขนาดเล็ก (Regulating Reservoir) คือแก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็นพื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง ทั้งนี้แก้มลิงที่อยู่ในพื้นที่เอกชน เรียกว่า "แก้มลิงเอกชน" ส่วนที่อยู่ในพื้นที่ของราชการและรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า "แก้มลิงสาธารณะ"
การจัดหาและออกแบบโครงการแก้มลิง การพิจารณาจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำนั้น ต้องทราบปริมาตรน้ำผิวดินและอัตราการไหลผิวดินที่มากที่สุดที่จะยอมปล่อยให้ออกได้ในช่วงเวลาฝนตก โดยสิ่งสำคัญคือต้องจัดหาพื้นที่กักเก็บให้พอเพียง เพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในการระบายน้ำ ปัจจุบันมีแก้มลิงทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร กว่า 20 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางฝั่งธนบุรี เนื่องจากมีคลองจำนวนมาก และระบายน้ำออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้โครงการแก้มลิงแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ โครงการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะใช้คลองที่ตั้งอยู่ชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นทางเดินของน้ำ ตั้งแต่จังหวัด สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่สอง คือคลองในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะใช้คลองมหาชัย คลองสนามชัย และแม่น้ำท่าจีน ทำหน้าที่เป็นคลองรับน้ำในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร แล้วระบายลงสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร นอกจากนี้ยังมีโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" เพื่อช่วยระบายน้ำที่ท่วมให้เร็วขึ้น โดยใช้หลักการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดการระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทย เมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ซึ่งโครงการนี้จะประกอบไปด้วย ๓ โครงการในระบบคือ
๑.โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ๒.โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย" ๓.โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน" ด้วยพระปรีชาญาณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ "โครงการแก้มลิง" จึงเกิดขึ้น และช่วยบรรเทาวิกฤต และความเดือดร้อนจากน้ำท่วมรอบกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลให้เบาบางลงไปได้ โดยอาศัยเพียงแค่วิธีการทางธรรมชาติ

ที่มา:http://www.xn--12co9drbac8a9as5aiidh8isei1npa.com

โครงการพระราชดำริฝนหลวง

โครงการพระราชดำริฝนหลวง

ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง

           โครงการพระราชดำริฝนหลวง เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร ๑๕ จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ ๒-๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘ ในวันจันทร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์เดลาเฮย์ ซีดานสีเขียว จากจังหวัดนครพนมไปจังหวัดกาฬสินธุ์ ผ่านจังหวัดสกลนครและ เทือกเขาภูพาน ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรและนักประดิษฐ์ควายเหล็กที่มีชื่อเสียงเข้าเฝ้าฯ แล้วพระราชทานแนวความคิดนั้นแก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล
จากทฤษฎีเริ่มแรกที่เกิดขึ้นหลังจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงใช้เวลาอีก ๑๔ ปี ในการวิเคราะห์วิจัย ทบทวนเอกสาร รายงานผลการศึกษาและข้อมูลต่างๆ พระราชทานให้ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เพื่อประกอบการค้นคว้าทดลองมาโดยตลอด
จาก พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้ การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๒ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้น กราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑-๒ กรกฎาคม ๒๕๑๒ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองเป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรกโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน ๑ ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลอง ในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลมพ้นไปจากสายตาไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผล โดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้ เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

ที่มา:https://moeiluhan.wordpress.com

เกษตรทฤษฎีใหม่


เกษตรทฤษฎีใหม่


                       การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยใช้แนวคิดแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ของประเทศไทย ได้ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้มีชีวิตอยู่โดยหลุดพ้นบ่วงแห่งความยากจน โดยหลักการคือ การแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกนั้น ให้ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 30% ของพื้นที่ทั้งหมด เนื่องจากการเกษตร จำเป็นต้องใช้น้ำ ส่วนที่สอง ให้ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่เพราะครอบครัวต้องกินต้องใช้ สำหรับเป็นแหล่งอาหารหลัก ส่วนที่สาม ให้ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น เก็บดอกผลไว้กินไว้ขาย เสริมสร้างรายได้ส่วนหนึ่งอีกทาง และส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่สำหรับใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่งได้ตามสะดวก ตัวอย่างคือ มีที่นาอยู่ที่ 4 ไร่ จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน อาจจะได้ประมาณส่วนละ 1 ไร่ แต่ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ด้วย หากพื้นที่โดยรอบแห้งแล้วกันดาร ให้เผื่อเนื้อที่ของการปลูกต้นไม้ยืนต้นและสระเก็บน้ำมากหน่อย เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็น และหากมีแต่น้ำแต่ผืนดินไม่ชุ่มชื้นเพราะขาดต้นไม้ให้ร่มเงา น้ำก็จะขาดแคลน การแบ่งพื้นที่ดังตัวอย่างมีดังนี้ พื้นที่ส่วนที่ 1 จำนวน 1.2 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำได้มาก เพียงพอต่อการนำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตรได้ทั้งปีแต่การผันน้ำมาใช้นั้น หากพื้นที่กว้างใหญ่ เช่นมีเนื้อที่ประมาณ 12-13 ไร่ การขุดสระโดยใช้พื้นที่ถึง 3-4 ไร่นั้นยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงานเชื้อเพลิงจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ หรือหาพลังงานเชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน เป็นการจัดการทำให้ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว สำหรับพื้นที่เล็กๆ ประมาณ 1-2 ไร่ สามารถทำเป็นท้องร่องได้โดยกะให้กว้างพอประมาณไม่ให้แคบเกินไปเพราะเนื้อที่แคบน้ำจะขาดแคลน พื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ปลูกข้าว การปลูกข้าวด้วยพื้นที่ 1 ไร่ควรใช้วิธีการดำนา หรือ การปลูกข้าวต้นเดียว เพราะจะให้ผลผลิตดี ปริมาณมากกว่าการปลูกข้าวแบบหว่านปกติ เนื่องจากการปักข้าวลงดินเองจะทำให้ข้าวมีผลผลิตดี การเตรียมดิน และปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน และไถกลบ เริ่มแรกอาจมีการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนเนื่องจากถั่ว เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เจริญเติบโตเร็ว หลังเก็บเกี่ยวสามารถไถกลบและซังพืชจะเป็นปุ๋ยชั้นดีให้นาข้าว พื้นที่ส่วนที่ 3 มีทั้งหมด 1.5 ไร่ ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยสามารถปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ ปลูกกล้วยน้ำว้า ปลูกพืชผัก ปลูกไม้ใช้สอย เช่น ต้นสัก ต้นไผ่รวก ไผ่ตง หรือ ต้นหวาย โดยทั้งนี้พื้นที่การปลูกอาจใช้พื้นที่ทั้งหมดที่เหลือโดยพื้นที่สำหรับปลูกสร้างบ้านเรือนก็สามารถปลูกคร่อมพื้นที่ส่วนที่ 3 ได้เช่นเดียวกัน พื้นที่ส่วนที่ 4 นี้มีพื้นที่เหลือประมาณ 3 งาน สามารถใช้เป็นพื้นที่สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์เล็กๆ ใต้ถุนเรือน หรือผสมผสานในการปลูกบ้านเรือนยกสูงบนสระน้ำ ให้ใต้ถุนเป็นคอกเลี้ยงเป็ดไก่ หมู ติดกับสระน้ำ โดยในน้ำก็มีการเลี้ยงปลาดุกปลานิลผสมกัน เป็นแนวทางการเกษตรแบบพึ่งพาอาศัย เกษตรทฤษฎีใหม่ สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่มาก เกษตรทฤษฎีใหม่ คือแนวทางที่ยั่งยืน โดยที่แต่เดิมจะเหมาะกับเกษตรกรที่มีพื่นที่ทางการเกษตรค่อนข้างมากพอสมควร แต่สำหรับเกษตรกรที่มีมีพื้นที่ไม่มากนัก ก็สามารถที่จะทำได้โดยการลดหลั่นของพื้นที่ทำกินในแบบผสมผสานพึ่งพาอาศัย

ที่มา:http://www.kasetorganic.com

Taeyeon

I Got Love
โอ้ยยย สวยหรูดูแพงงงง
แทยอนออนนี่
แค่Teaser ก็ตายละ งื้ออออ >//<

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ORIGAMI


ศิลปะงานพับกระดาษเป็นรูปแบบต่างๆ (Origami)



        การพับกระดาษ (Origami) หรือเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า 折り紙 ซึ่งมีความหมายมาจากคำว่า โอริ ซึ่งแปลว่า “การพับ” และ กามิ ที่แปลว่า “กระดาษ” งานศิลปะที่เรียกว่าโอริกามิ เป็นศิลปะที่ใช้กระดาษพับขึ้นมาเป็นรูปร่างต่างๆ โดยเป็นศิลปะดั้งเดิมในประเทศญี่ปุ่นมานานมากแล้ว ประวัติเกี่ยวกับโอริกามิ เริ่มมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 และในที่สุดก็โด่งดังไปทั่วโลกในช่วงกลางศตวรรษของปี 1900 เป็นต้นมา ซึ่งในปัจจุบันนี้ ศิลปะการพับกระดาษแบบญี่ปุ่นได้พัฒนาขึ้นมากลายเป็นงานศิลปะสมัยใหม่ ที่มีรูปแบบเกิดขึ้นมากมาย งานศิลปะที่จัดเป็นโอริกามินั้นจะต้องเป็นการนำเอากระดาษมาพับหรือดัดงอให้เป็นรูปทรงต่างๆโดยการใช้เทคนิคคล้ายกับการปั้นและการจัดแต่งชิ้นงาน และจะต้องไม่มีการตัดกระดาษหรือใช้กาวยึดติดใดๆ ในกรณีที่ใช้การตัดกระดาษและติดกาวในชิ้นงาน จะเรียกว่าเป็นศิลปะแบบ คิริกามิ (kirigami) อย่างเช่นการทำ โมเดลกระดาษ แบบต่างๆ (Papercraft Model) เป็นต้นการพับกระดาษโดยพื้นฐานดั้งเดิมแล้วจะเป็นการพับแบบง่ายๆ แต่สามารถสร้างรูปทรงขึ้นมาเป็นงานออกแบบที่สวยงามได้ ต่างกับงานโอริกามิสมัยใหม่ ที่สลับซับซ้อนขึ้น และท้าทายกับศิลปินที่จะต้องใช้ฝีมือและสมาธิในการสร้างชิ้นงานมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งถ้าจะพูดถึงแบบการพับกระดาษที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการพับกระดาษที่โด่งดังที่สุด ก็คงจะหนีไม่พ้นการพับกระดาษเป็นรูปนกกระเรียน (Japanese paper crane) ที่น่าจะพบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยทั่วไปแล้ว งานโอริกามิ จะเริ่มจากการใช้กระดาษสี่เหลี่ยมจตุรัส โดยสองด้านอาจจะมีสีด้านใดด้านหนึ่ง มีสีและลายทั้งสองด้าน หรืออาจจะไม่มีสีหรือลวดลายก็ได้ แบบและวิธีพับโอริกามี ในสมัยก่อน อาจจะไม่ได้เริ่มจากการใช้กระดาษสี่เหลี่ยมจตุรัส อย่างเช่น อาจจะใช้กระดาษสี่เหลี่ยมผื่นผ้า เช่นการพับเรือใบ หรือการพับดอกไม้จากกระดาษห้าเหลี่ยมเป็นต้น สำหรับในปัจจุบัน กระดาษที่เราพบเห็นกันบ่อยๆและหาได้ง่ายก็น่าจะเป็นกระดาษถ่ายเอกสาร หรือกระดาษ A4 ที่ซื้อได้เป็นรีมตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป กระดาษที่ใช้ในการพับโอริกามิ ที่จริงแล้วสามารถใช้กระดาษชนิดใดก็ได้ สำหรับกระดาษ A4 ธรรมดา ก็สามารถเอามาตัดเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส แล้วสามารถใช้งานได้เหมือนกัน
กระดาษที่ใช้สำหรับการพับ – กระดาษสำหรับโอริกามิ (Origami paper)ตามประเพณีเดิมของการพับกระดาษแบบญี่ปุ่นแล้ว กระดาษที่ใช้ในการพับจะเป็นกระดาษเฉพาะที่ใช้เพื่องานศิลประการพับ เรียกว่ากระดาษกามิและกระดาษชิโยกามิ แต่สำหรับกระดาษที่น่าจะเห็นได้บ่อยและหาง่ายกว่า ก็คือกระดาษกามิ กระดาษชนิดนี้จะมีลักษณะที่บาง เหนียว และมักจะพิมพ์สีด้านหนึ่ง ราคาจะค่อนข้างถูก สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายกระดาษใหญ่ๆ ส่วนสำหรับกระดาษวาชิ จะเป็นการเรียกกระดาษที่ทำขึ้นเองโดยตัวศิลปินเพื่อใช้สำหรับงานพับโอริกามิ ในปัจจุบันก็มีขายอยู่ แต่จะมีราคาแพงมาก กระดาษวาชิจะมีลักษณะพิเศษที่มีความเหนียวมาก แต่ก็ยังคงนุ่ม กระดาษวาชิจะพับในส่วนที่เป็นมุมแหลมได้ยากกว่ากระดาษแบบอื่นๆเนื่องจากว่าจะไม่ค่อยคงรอยพับไว้ และกระดาษแบบสุดท้ายคือกระดาษชิโยกามิ เป็นกระดาษที่มีเนื้อคล้ายกระดาษวาชิ แต่บางกว่าและพับมุมได้ง่ายกว่า มีราคาถูกกว่า และโดยทั่วไปจะพิมพ์ลายต่างๆที่เป็นลายดั้งเดิมของญี่ปุ่นอยู่ด้านหนึ่ง กระดาษชิโยกามิจะมีลักษณะคล้ายๆกระดาษปอนด์ทั่วไป สำหรับกระดาษชนิดอื่นๆที่หาได้ง่ายกว่า ซึ่งอาจจะเอามาพับกระดาษได้อย่างเช่น
กระดาษปอนด์ กระดาษชนิดนี้เป็นกระดาษที่หาได้ตามร้านเครื่องเขียนทั่วๆไป จะขายเป็นรีม อาจจะเรียกว่ากระดาษถ่ายเอกสาร จะมีหลายขนาด แต่ที่พบบ่อยๆก็คือ กระดาษ A4 ซึ่งเป็นกระดาษที่ใช้กันทั่วไป กระดาษปอนด์จะมีขนาดอื่นๆอีกอย่างเช่น กระดาษ A3, กระดาษ A2 หรือ กระดาษขนาด Letter เป็นต้น กระดาษชนิดนี้จะมีเนื้อสีขาว พับง่าย คงรูปได้ดี มีน้ำหนักของกระดาษและคุณสมบัติความเหนียวแตกต่างกันไปตามแต่ละยี่ห้อ แต่โดยทั่วๆไปแล้ว ข้อเสียของกระดาษชนิดนี้คือ จะนำมาพับแบบพับกระดาษที่สลับซับซ้อนและมีการพับส่วนเล็กๆหักมุมมากๆไม่ดี เนื่องจากกระดาษจะมีความเปราะ และถ้าพับทบไปมามากๆกระดาษก็มักจะขาดได้ เราสามารถนำเอากระดาษปอนด์มาตัดเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส กระดาษ A4 เมื่อตัดแล้วก็จะได้สี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดประมาณแปดนิ้ว ซึ่งค่อนข้างเหมาะกับการพับแบบทั่วๆไป สำหรับแบบพับที่ยากๆ เราสามารถใช้กระดาษขนาด A3 ซึ่งเมื่อตัดเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสแล้ว จะได้ขนาดประมาณ 11 นิ้วครึ่ง ซึ่งใหญ่พอที่จะใช้พับแบบที่ซับซ้อนขึ้นได้ นอกจากนั้นแล้วเรายังสามารถใช้กระดาษปอนด์พิมพ์ลายผ่านเครื่องพิมพ์ต่างๆ เพื่อให้ได้สีและลายที่เราต้องการก่อนที่จะนำมาพับ จึงค่อนข้างเหมาะกับการใช้พับคุซุดามะ (ลูกบอลกระดาษ) ที่เราจะสามารถทำเป็นสีและลายที่เราต้องการได้ กระดาษปอนด์สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านเครื่องเขียนทั่วๆไป การเลือกซื้อกระดาษปอนด์ให้เหมาะกับการนำมาพับกระดาษควรที่จะเลือกกระดาษที่มีน้ำหนักต่ำๆ บางๆ แต่มีความเหนียวและคงรูปได้ดี 
กระดาษคราฟท์ สำหรับกระดาษคราฟท์ จะเป็นกระดาษเนื้อหยาบ มักจะเป็นสีน้ำตาล แต่ก็มีแบบที่เป็นสีขาว เรียกว่ากระดาษคราฟท์ฟอกขาว สามารถหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนใหญ่ๆ โดยมักจะขายเป็นม้วน กระดาษคราฟท์โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้เป็นกระดาษเพื่อฝึกการพับได้ดี เนื่องจากคุณสมบัติที่มีความเหนียวและแข็งแรงมากกว่ากระดาษทั่วๆไป ทำให้สามารถใช้ลองหัดพับได้โดยที่กระดาษไม่ขาด รวมถึงมีราคาถูกและไม่เปื่อยง่าย แต่เนื่องจากกระดาษคราฟท์มักจะหนาและหยาบมากกว่าปกติ รวมทั่วยังเป็นสีน้ำตาลจึงมักจะไม่ใช้ในการพับงานตัวจริง ที่อาจจะต้องการกระดาษที่สวยกว่านี้ 


วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

TENSE

TENSE
สรุปหลักการใช้ Tense ฉบับย่อ เพื่อเปรียบเทียบให้นักเรียนได้เข้าใจและมองเห็นภาพ

Tense ใหญ่ มี 3 Tense

1. Present Tense เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. Past Tense เป็นเรื่องราวในอดีต
3. Future Tense เป็นเรื่องราวในอนาคต
Tense ใหญ่ แยกออกเป็น 4 Tense ย่อย รวมเป็น 12 Tense ดังนี้
1. Present Tense เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
 1.1 Presenst Simple บอกข้อเท็จจริงทั่วไป
  • I eat rice everyday. ฉันกินข้าวทุกวัน
1.2 Present Continuous บอกเหตุการณ์ที่กำลังกระทำขณะนี้
  • I am eating rice. ฉันกำลังกินข้าว
1.3 Present Perfect บอกเหุตการณ์ที่ได้ทำเสร็จแล้วขณะพูด หรือ เหตุการณ์ที่กระทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้
  • have eaten rice. ผมกินข้าวแล้ว (กินอิ่มมาแล้ว)
  • have eaten rice for 20 minutes. ผมกินข้าวแล้วเป็นเวลา 20 นาที (ตอนนี้ก็กินอยู่)
1.4 Present Perfect Continuous บอกเหตุการณ์ที่ทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน คล้ายกับ Present Perfect แต่ตัวนี้เป็นการเน้นว่าทำแบบไม่หยุดเลย
  • have been eating rice for 1 hour. ผมกินข้าว (แบบไม่พูดคุยหรือลุกไปไหนเลย)เป็นเวลา 1 ชั่วโมงแล้ว
2. Past Tense เป็นเรื่องราวในอดีต
2.1 Past Simple บอกว่าได้ทำอะไร เมื่อไหร่ในอดีต
  • ate rice yesterday. ฉันกินข้าวเมื่อวาน
2.2 Past Continuous บอกเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในอดีต
  • I was eating rice when my dad came. ฉันกำลังกินข้าวอยู่ เมื่อพ่อมาถึง
2.3 Past Perfect บอกเหุตการณ์ที่ได้ทำเสร็จแล้วในอดีต
  • I had eaten rice when my dad came. ผมกินข้าวเสร็จแล้ว เมื่อพ่อมาถึง
2.4 Past Perfect Continuous บอกเหตุการณ์ที่ทำต่อเนื่องมาจนถึง ณ เวลาหนึ่งในอดีต
  • had been eating rice for 1 hour when my dad came. ผมกินข้าวเป็นเวลา 1 ชั่วโมงแล้ว เมื่อพ่อมาถึง
3. Future Tense เป็นเรื่องราวในอนาคต
3.1 Future Simple บอกว่าจะทำอะไร ในอนาคต
  • will eat rice tomorrow. ฉันจะกินข้าวพรุ่งนี้
3.2 Future Continuous บอกเหตุการณ์ที่จะกระทำอยู่ ณ ช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต
  • At nine o’clock tomorrow, I will be eating rice. เก้าโมงเช้าวันพรุ่งนี้ ฉันจะกำลังกินข้าวอยู่นะ (ห้ามโทรมา ห้ามมาเรียก)
3.3 Future Perfect บอกเหุตการณ์ที่จะทำเสร็จแล้วในอนาคต
  • At nine o’clock tomorrow, I will have  eaten rice. เก้าโมงเช้าวันพรุ่งนี้ ผมกินข้าวเสร็จแล้วนะ (โทรมาได้ เพราะว่างแล้ว)
3.4 Future Perfect Continuous บอกเหตุการณ์ที่ทำต่อเนื่องมาจนถึง ณ เวลาหนึ่งในอนาคต
  • At nine o’clock tommorrow, I will have been eating rice for 1 hour. เก้าโมงเช้าวันพรุ่งนี้ ผมจะกินข้าวแล้วเป็นเวลา 1 ชั่วโมงแล้ว (บอกให้รู้เฉยๆว่าฉันจะกินข้าวนานแค่ไหน)
ถึงแม้จะมี 12 Tense ก็จริง แต่ก็ไม่ได้ใช้ ทุกตัวหรอกครับ ที่ใช้บ่อยได้แก่
  • Present Continuous
  • Present Simple
  • Present Perfect
  • Past simple
  • Future Simple

KUMKOM

How to play : เกมต่ออักษรภาษาไทย คำคม

คำคม (Kumkom) เป็นเกมต่่ออักษรไทยให้เป็นศัพท์ภาษาไทยที่พัฒนาขึ้นและจัดจำหน่ายโดย บ. Max Ploys จำกัด ซึ่งคล้ายกับเกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ (Scrabble / Crossword) ที่ต้องจัดเรียงตัวเบี้ยอักษรที่จับขึ้นมาแบบสุ่มเรียงให้เป็นคำและวางลงบนกระดาน แต่เกมต่อศัพท์ภาษาไทย คำคม จะใช้เบี้ยที่เป็นพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ในภาษาไทยเข้ามาแทน และมีกติกาที่แตกต่างจากการเล่นเกมต่อสมการคณิตศาสตร์ A-Math และเกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ Crossword คือการนำศัพท์เก่าออกจากกระดานและให้เหลือแต่คำล่าสุดที่ลงเอาไว้
วิธีการเล่นเกมต่อศัพท์ภาษาไทย คำคม

ผู้เล่นจะต้องเตรียมเบี้ย 2 ประเภทคือ เบี้ยพลาสติกที่เป็นตัวอักษรและสระ รวมถึงเบี้ยว่างซึ่งเป็นเบี้ยพิเศษที่ใช้แทนตัวอักษรใดก็ได้จำนวน 104 แบบ และเบี้ยวรรณยุกต์และสระบางตัวที่เป็นเบี้ยกระดาษ โดยมีตัวอักษรต่าง ๆ จำนวนดังต่อไปนี้
ตัวอักษรจำนวนตัวอักษรจำนวนตัวอักษรจำนวน
4 ตัว2 ตัวศ/ฤ1 ตัว
2 ตัว1 ตัว3 ตัว
2 ตัว3 ตัว2 ตัว
ฆ/ซ1 ตัว3 ตัวฬ/ญ1 ตัว
3 ตัว2 ตัว3 ตัว
2 ตัว1 ตัวฮ/ฦ1 ตัว
1 ตัว1 ตัว5 ตัว
2 ตัว2 ตัว2 ตัว
ณ/ษ1 ตัว2 ตัว5 ตัว
ฎ/ฏ1 ตัว1 ตัว4 ตัว
ฐ/ฑ1 ตัว3 ตัว2 ตัว
ฒ/ณ1 ตัว3 ตัว2 ตัว 
ด 3 ตัว3 ตัว3 ตัว
2 ตัว3 ตัว6 ตัว
1 ตัว3 ตัวตัวว่าง4 ตัว
* สามารถเลือกใช้เบี้ยที่ตัวอักษรคู่ได้เพียงตัวเดียว และเลือกได้ครั้งเดียวตลอดเกมการเล่น
* สามารถต่อเป็นตัวอักษรลากข้าง (ๅ) เช่น ฤๅ หรือ ฦๅ โดยใช้ตัวว่างได้เท่านั้น
เบี้ยแต่ละตัวจะมีคะแนนระบุเป็นตัวเลขไทยที่มุมล่างด้านขวา ซึ่งเมื่อประกอบเป็นคำและวางลงบนกระดานในตำแหน่งพิเศษที่มีสีปรากฏอยู่ จะได้คะแนนดังต่อไปนี้
  • สีฟ้า – ตัวอักษรที่ลงในช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ 2 จากตัวอักษรนั้น ๆ
  • สีเขียว – ตัวอักษรที่ลงในช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ 3 จากตัวอักษรนั้น ๆ
  • สีส้ม – ตัวอักษรที่ลงในช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ 4 จากตัวอักษรนั้น ๆ
  • สีม่วง – ตัวอักษรที่ลงในช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ 5 จากตัวอักษรนั้น ๆ
  • สีชมพู – ศัพท์คำใดที่พาดผ่านช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ 2 จากคะแนนรวมของทั้งคำ
  • สีแดง – ศัพท์คำใดที่พาดผ่านช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ 3 จากคะแนนรวมของทั้งคำ
สำหรับเบี้ยกระดาษที่เป็นวรรณยุกต์และสระบางตัวจะไม่มีคะแนนในตัวเอง แต่สามารถใช้ในการเล่นตลอดเวลาที่ต้องการ ได้แก่ สระอิ สระอี สระอึ สระอือ สระอุ สระอู ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา ไม้ทันฑฆาต และไม้หันอากาศ
เริ่มต้นการเล่น
ผู้เล่นจะต้องจับเบี้ยเพื่อสุ่มหาว่าใครจะได้เป็นผู้เริ่มเล่นก่อน โดยตัวว่างจะมีค่ามากที่สุด ตามด้วยตัวอักษรตั้งแต่ ก – ฮ แต่สระจะไม่มีค่าใด ๆ ผู้ใดได้เบี้ยที่สูงกว่าจะเป็นผู้เริ่มเล่นก่อน หรือใช้วิธีอื่นตามแต่จะตกลงกัน
ผู้เล่นหยิบเบี้ยขึ้นมา 9 ตัวจากถุงเข้าสู่ที่วางบนแป้น และผู้เล่นจะต้องประกอบตัวอักษรเพื่อสร้างคำศัพท์ที่มีความหมายในพจนานุกรมโดยใช้ตัวเบี้ยอักษรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปในแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้ ซึ่งผู้เล่นคนแรกจะต้องเริ่มวางจากกลางกระดานเสมอ และผู้เล่นสามารถนำเบี้ยกระดาษมาใช้สร้างคำได้ตลอดเวลา
เมื่อผู้เล่นคนแรกวางศัพท์และคำนวณคะแนนตามเงื่อนไขทั้งคำที่วางลงไปได้เรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือผู้เล่นคนถัดไปจะต้องต่อคำศัพท์โดยเชื่อมกับคำที่ปรากฏบนกระดานก่อนหน้านี้ เมื่อผู้เล่นสามารถต่อศัพท์ได้เรียบร้อยแล้ว ให้นำคำศัพท์ตัวเดิมของผู้เล่นคนก่อนหน้าหรือคู่ต่อสู้ออกจากกระดาน จากนั้นจึงผลัดกันเล่นและคำนวณคะแนนต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเข้าเงื่อนไขในการสิ้นสุดเกม
ผู้เล่นสามารถใช้สิทธิผ่าน ไม่เลือกเล่นในตานั้น ๆ โดยที่คะแนนในตาที่ผ่านนั้นจะเป็น 0 และผู้เล่นอีกฝ่ายจะได้เล่นต่อ
ผู้เล่นสามารถต่อศัพท์ให้คำที่มีความหมายปรากฏมากกว่า 1 คำในตาเดียวกันได้ แต่ศัพท์ที่ลงจะต้องมีความหมายทั้งหมด ไม่ว่าจะคิดจากแนวใด ๆ และผู้เล่นที่สามารถทำได้จะได้คะแนนจากคำศัพท์ทุกคำที่มีความหมายตามเงื่อนไขและตำแหน่งเบี้ยที่วางบนสีที่ปรากฏบนกระดาน
เงื่อนไขพิเศษในการเล่น
* ผู้เล่นจะได้คะแนนพิเศษในการเล่นเมื่อสามารถนำเบี้ยตัวอักษรมาสร้างคำใหม่ตั้งแต่ 6 – 9 เบี้ยในคราวเดียวกัน โดยจะบวกเพิ่มให้นอกเหนือจากคะแนนที่ได้จากคำศัพท์อยู่แล้วดังต่อไปนี้
6 ตัวอักษร +40 คะแนน 7 ตัวอักษร +50 คะแนน 8 ตัวอักษร +70 คะแนน 9 ตัวอักษร +90 คะแนน
* ผู้เล่นสามารถขอเปลี่ยนเบี้ยตัวอักษรที่อยู่ในแป้นตัวเองได้ตั้งแต่ 1 – 9 ตัวเมื่ออยู่ในตาของตนเอง โดยจะต้องผ่านในตานั้นทันทีหลังจากการจับสุ่มเปลี่ยนเบี้ยใหม่เรียบร้อยแล้ว แต่จะเปลี่ยนไม่ได้ เมื่อตัวเบี้ยที่อยู่ในถุงเหลือไม่เกิน 9 ตัว
* ในกรณีที่ผู้เล่นไม่สามารถลงศัพท์ต่อไปได้ และยังมีเบี้ยเหลืออยู่ในถุง และมีการเปลี่ยนตัวศัพท์หรือขอผ่านฝ่ายละ 3 ครั้งติดต่อกัน ให้ยกศัพท์เก่าบนกระดานออก และเริ่มต้นเล่นใหม่กลางกระดานโดยคิดคะแนนต่อไปได้เลย
* ผู้เล่นสามารถเรียกขอตรวจศัพท์ของอีกฝ่ายหนึ่งว่ามีคำนั้น ๆ ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมคำศัพท์หรือไม่ โดยหากเปิดเจอศัพท์จริง ผู้เล่นที่ร้องขอการตรวจศัพท์จะเสียการเล่นไป 1 ตาทันที แต่หากตรวจแล้วไม่พบศัพท์ ให้ยกตัวเบี้ยออก และผู้ที่ลงศัพท์ที่ไม่มีอยู่จริงจะได้คะแนน 0 คะแนนในตานั้นทันที และเปลี่ยนตาเล่นให้เป็นของผู้เล่นคนถัดไปหรือผู้ที่ร้องขอทันทีเช่นกัน
* ผู้เล่นสามารถตั้งเวลาในการเล่นเกมต่ออักษรภาษาไทย คำคม ได้ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องใช้เวลาไม่เกิน 25 นาทีต่อเกมในการเล่น
เงื่อนไขในการสิ้นสุดเกม
เกมจะสิ้นสุดเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้เบี้ยหมด หลังจากที่เบี้ยในถุงหมดเรียบร้อยแล้ว โดยผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องนำคะแนนของเบี้ยตัวอักษรที่ตนเองมีอยู่มารวมกันแล้วคูณ 2 เพื่อเป็นคะแนนพิเศษสำหรับผู้เล่นฝ่ายที่ตัวเบี้ยหมดก่อน
ในกรณีที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่สามารถลงเบี้ยได้ครบ แม้ว่าจะขอเปลี่ยนตัวศัพท์หรือขอผ่านฝ่ายละสามครั้งในกรณีที่เบี้ยตัวอักษรถูกหยิบออกจากถุงทั้งหมดแล้ว รวม 6 ครั้งติดต่อกันแล้วก็ตาม ให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายนับเบี้ยที่ตนเองมีอยู่รวมกัน แล้วหักคะแนนออกจากคะแนนที่ตนเองทำได้ในเกมนั้น ๆ
ผู้ใดที่มีคะแนนสะสมทั้งหมดมากกว่า ผู้นั้นเป็นฝ่ายชนะ